เมื่อเจอข้อสอบ IELTS Reading แบบ True/False/Not Given หรือ Yes/No/Not Given
.
อย่าลืมสังเกต “Adverb of Frequency” หรือ adverb บอกความถี่ เพราะมันคือ key สู่คำตอบที่ถูกต้อง
.
ยกตัวอย่าง
.
โจทย์: William often employed XYZ method in 2014.
.
สิ่งที่เราต้องไปค้นหาใน passage ไม่ใช่การค้นหาว่า William มักใช้ขั้นตอนแบบ XYZ “หรือไม่”
.
แต่เราต้องไปค้นหาว่าใน passage บอกไว้หรือไม่ว่าเขาใช้วิธีการนี้ “บ่อย” แค่ไหน
.
ดังนั้น “often” ซึ่งเป็น “Adverb of Frequency” จึงเป็นคำที่เราต้อง “ขีดเส้นใต้” เมื่อทำการวิเคราะห์โจทย์ข้อนี้
.
หากข้อนี้ตอบ True หรือ Yes ใน passage ต้องมี synonym ของ “often” เช่น usually หรือ consistently หรือ คำ/กลุ่มคำอื่นๆ ที่สื่อถึงความ “บ่อย”
.
หากข้อนี้ตอบ False หรือ No ใน passage ต้องมีคำตรงข้ามกับ “often” เช่น never หรือ rarely หรือ คำ/กลุ่มคำอื่นๆ ที่สื่อถึงความ “ไม่บ่อย”
.
แต่หากใน passage ไม่บอกความถี่ใดๆ แสดงว่าข้อนี้ต้องตอบ Not Given
.
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากใน passage มีข้อความว่า “In 2014, William employed XYZ method.”
.
คำตอบที่ถูกต้องคือ Not Given เพราะข้อความ “In 2014, William employed XYZ method.” ไม่ได้บ่งชี้ถึง “ความถี่” ตามที่ในโจทย์ระบุมาเลย
.
จงอย่าตอบ True หรือ Yes เพียงเพราะหวั่นไหวกับกลเม็ดของคนออกข้อสอบ ที่ออกแบบให้ “โจทย์” และ “ข้อความใน passage” มีความคล้ายคลึงกันจนแทบแยกไม่ออก
.
จงอย่าตอบ False หรือ No เพียงเพราะเราไม่พบ synonym ของ “Adverb of Frequency” ใน passage
.
และที่สำคัญที่สุด จงอย่าลังเลที่จะตอบ Not Given เมื่อเรา “พบ” Adverb of Frequency ใน “โจทย์”
.
แต่ “ไม่พบ” Adverb of Frequency ใน “passage” ทั้งๆ ที่ใน passage ระบุถึงเหตุการณ์เดียวกันกับในโจทย์
.
จงสังเกตสิ่งนี้อีกครั้ง
.
โจทย์: William often employed XYZ method in 2014.
.
ข้อความใน passage: In 2014, William employed XYZ method.
.
สิ่งที่ระบุเหมือนกันทั้งในโจทย์และ passage คือ “เหตุการณ์” ที่คนชื่อ William ใช้กรรมวิธีแบบ XYZ ในปี 2014
.
แต่สิ่งที่ใน passage ไม่ได้ให้เรามาคือ “ความถี่”
.
ดังนั้น เมื่อในโจทย์ระบุถึงความถี่ ซึ่งเป็นข้อความ “ส่วนเกิน” ที่ไม่ได้กล่าวถึงใน passage
.
เราจึงสรุปได้ว่า passage “ไม่บอก” ข้อมูลความถี่กับเรา
.
เขาไม่ได้ปฏิเสธว่า False หรือ No
.
เขาไม่บอก คือ “ไม่บอก”